Trip ควรรู้…ในการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์…
เรื่อง ของการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์นั้น…นอกจากจะต้องมีการยึดตรึงให้แน่นหนา แล้ว…มันยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่อีกมากมาย…ดังนั้นวันนี้…เราจึง เก็บเอาเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาฝาก…เพื่อให้การติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ทำได้อย่าง สมบูรณ์…และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ….
โดย ทั่วไปแล้วจะมีตำแหน่งยอดนิยมอยู่สองที่ด้วยกันคือ ใต้เบาะที่นั่ง และในห้องเก็บของท้ายรถ ซึ่งการติดตั้งใต้เบาะที่นั่งนั้นดูจะเป็นตำแหน่งที่น่าจะได้ผลดีที่สุด เนื่องด้วยระบบระบายความร้อนที่ได้แอร์ในรถช่วย และยังสามารถซ่อนตัวเพาเวอร์แอมป์ได้อย่างมิดชิด อีกทั้งยังมีการเดินสายไฟแรงดัน และสายสัญญาณที่สั้นกว่าการติดตั้งไว้ที่ห้องเก็บของท้ายรถ…
ควรเพิ่มกล่องฟิวส์ที่แบตเตอรี่…
ที่ ต้องเป็นเช่นนั้นก็เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง เพราะว่าแม้เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ทุกตัวจะมีฟิวส์ป้องกันที่ตัวเครื่องแล้วก็ ตามที แต่ฟิวส์ดังกล่าวได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเฉพาะตัวเครื่องเท่านั้น ซึ่งฟิวส์ที่มีการเพิ่มเข้าไปที่ใกล้ๆกับแบตเตอรี่นั้น เป็นฟิวส์เพื่อป้องกันความเสียหายในการติดตั้ง เพราะว่าหากเกิดการลัดวงจรระหว่างสายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังเพาเวอร์แอมป์ ฟิวส์ที่อยู่ข้างหน้าจะช่วยป้องกันอันตรายจากไฟไหม้รถ หรือเหตุอื่นๆได้ทั้งหมด
อะไรคือฟิวส์ที่แบตเตอรี่…
เป็น ฟิวส์ที่ติดตั้งเพิ่มให้มีขนาดเหมาะสมกับสายไฟแรงดันเพื่อปกป้องทุกๆอย่างใน ระบบ เพื่อป้องกันการลัดวงจรระหว่างสายไฟจากแบตเตอรี่ไปยังอุปกรณ์ต่างในระบบ เสียง โดยหลักการแล้วฟิวส์ส่วนนี้จะต้องติดตั้งตลับฟิวส์ไว้ให้ใกล้กับแบตเตอรี่ มากที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ควรจะใช้ความยาวของสายไฟจกขั้วแบตเตอรี่มายังฟิวส์เกิด 18 นิ้ว
ต้องใช้ฟิวส์ใหญ่แค่ไหนถึงจะเพียงพอ…
ใน กรณีนี้ถ้ามีการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์เพียงตัวเดียว ฟิวส์ที่ใช้ก็แค่ให้มีขนาดเหมาะสม หรือขนาดเดียวกันกับเพาเวอร์แอมป์ตัวนั้นๆ แต่โดยปกติแล้วมักจะใช้ฟิวส์ที่มีขนาดมากกว่าเล็กน้อย (ประมาณ 5 แอมป์) แต่ถ้ามีเพาเวอร์แอมป์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ขนาดของของฟิวส์จะต้องคำนวณจากค่ารวมของกระแสที่ใช้ทั้งหมด อย่างเช่นถ้าในระบบมีเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ฟิวส์ 10 แอมป์ 2 เครื่อง และใช่ฟิวส์ขนาด 25 แอมป์อีก 1 เครื่อง ในกรณีนี้จะต้องป้องกันด้วยการใช้ฟิวส์ขนาด 50-60 แอมป์จึงจะเหมาะสม
ต้องใช้กล่องแยกฟิวส์ด้วยหรือไม่…
การ ป้องกันระบบอย่างถูกต้องก็คือก็คือการใช้ฟิวส์ขนาดที่เหมาะสมต่อระหว่างสาย ไฟแรงดันกับเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัว ซึ่งถ้าระบบเสียงที่ใช้ไม่ใหญ่มากนัก มีกำลังขับรวมไม่เกิน 500 วัตต์ การใช้กล่องแยกฟิวส์อาจทำให้งานติดตั้งดูสวยงาม แต่ก็ไม่มีความจำเป็นมากนัก แต่ถ้าเป็นในระบบใหญ่ที่ใช้เพาเวอร์แอมป์หลายเครื่อง มีกำลังขับรวมมากกว่า 1000 วัตต์ การใช้กล่องแยกฟิวส์ก็จะกลายเป็นเรื่องที่เหมาะสมทันที ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงานติดตั้ง และเพื่อความปลอดภัยนั่นเอง
เลือกอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสายเพาเวอร์แอมป์อย่างเหมาะสม…
การเชื่องต่อสายเพาเวอร์แอมป์นั้น ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ชั้นพิเศษใดๆ หรือว่าของราคาแพงๆ จะมีก็แต่ว่าต้องมีหัวหาปลา และแจ็ค RCA ที่มีขนาดเหมาะสม เพื่อการนำเข้าของสัญญาณ และกำลังไฟที่สมบูรณ์ไปยั้งเพาเวอร์แอมป์เท่านั้น โดยมีหลักการสำคัญดังนี้…
- ต้องเลือกเบอร์ หรือขนาดของสายไฟแรงดันที่จะต่อไปยังเพาเวอร์แอมป์ที่เหมาะสม
- ต้องมีการติดตั้งกล่องฟิวส์ไว้ระหว่างสายไฟแรงดัน หรือใช้ตัวเบรกเกอร์ในกรณีที่ระบบมีขนาดใหญ่
- สา ยกราวด์ต้องมีขนาดเท่ากัน หรือใหญ่กว่าสายไฟแรงดัน เพื่อบังคับให้กระแสไหลลงกราวด์ได้มากพอๆกับที่ไหลในวงจร โดยสายกราวด์ต้องให้สั้นที่สุด
- สายอีกเส้นหนึ่งที่ต้องเดินไปยังเฮดยูนิต คือสายควบคุมการ เปิด/ปิด (Remote/Turn-On) ของเพาเวอร์แอมป์ให้สัมพันธ์กันกับเฮดยูนิต ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากับสายไฟแรงดัน หรือสายกราวด์ โดยทั่วไปจะใช้สายเบอร์ 18 AWG
- สายนำสัญญาณจากเฮดยูนิตมายังเพาเวอร์แอมป์ที่เรียกว่าสาย RCA นั้น จะต้องมีความยาวที่เหมาะสม ไม่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป ควรมีคุณสมบัติในการนำสัญญาณที่ดี และต้องป้องกันเสียงรบกวนได้ดีด้วย
- สายลำโพงโดยปกติจะใช้สายเบอร์ 12 AWG สำหรับลำโพงซับวูฟเฟอร์, 14 AWG สำหรับมิด-วูฟเฟอร์, 16 AWG สำหรับมิดเร้นจ์ และ 18 AWG สำหรับทวีตเตอร์
สายไฟแรงดัน และสายกราวด์ขนาดไหนถึงจะเหมาะกับเพาเวอร์แอมป์
การคำนวณหาขนาดของสายไฟแรงดันและสายกราวด์นั้นคำนวณได้ด้วยการนำเอาค่าวัตต์แบบ RMS ของเพาเวอร์แอมป์แต่ละตัวมารวมกัน พร้อมด้วยขนาดความยาวของสายไฟแรงดันแล้วเทียบจากตารางได้เลยครับ เช่นในระบบใช้เพาเวอร์แอมป์ขนาด 200 วัตต์ 2 ตัว ก็หมายถึงวัตต์รวมคือ 400 วัตต์ ต้องการเดินสายยาว 16 ฟุต ถ้าเทียบกับตารางแล้วก็คือต้องใช้สายไฟเบอร์ 4 AWG เป็นต้น
ตำแหน่งที่ติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ต้องมีพื้นที่ว่ารอบๆพอสมควร…
ใน ขณะที่เพาเวอร์แอมป์มีการทำงานอยู่นั้น ตัวเพาเวอร์แอมป์จะมีความร้อนเกิดขึ้นในระดับหนึ่ง ตัวของเพาเวอร์แอมป์จะต้องมีการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องสู่ภายนอก ดังนั้นบริเวณโดยรอบควรจะมีพื้นที่ว่างประมาณ 1 นิ้ว เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ความร้อนจากครีบระบายความร้อนกระจายออกไป เมื่อมีการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ที่ผนังในแนวตั้ง ต้องแน่ใจด้วยว่าครีบระบายความร้อนนั้นตั้งอยู่ในระดับตรง เพื่อให้อากาศไหลผ่านได้ ไม่ควรติดตั้งเพาเวอร์แอมป์แบบกลับหัว หรือเอาครีบระบายความร้อนไว้ใต้ตัวเครื่อง เพราะอาจทำให้เพาเวอร์แอมป์ระบายความร้อนไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสมในตัวเครื่อง อันจะนำไปสู่ความเสียหายได้
ใช้เพาเวอร์แอมป์ขนาดไหนถึงจะเหมาะกับระบบไฟในรถ
ความ จริงแล้วต้องเป็นอัตราการจ่ายกระแสไฟของไดร์ชาร์จของรถคันนั้นๆจะเป็นตัว ตัดสินถึงขนาดของเพาเวอร์แอมป์ที่จะนำมาใช้ในระบบเสียง โดยใช้เกณฑ์ประมาณ 40 % ของความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าทั้งหมด เนื่องจากว่าอีก 60 % จะถูกนำไปใช้กับระบบไฟในรถทั้งหมด จากนั้นก็ให้ดูจากอัตราการใช้กระแสของเพาเวอร์แอมป์ว่าเหมาะหรือไม่กับอีก 40% ที่เหลือ
การคำนวณหาอัตราการกินกระแสของเพาเวอร์แอมป์นั้นหาได้ดังนี้ (วัตต์ RMS รวม X 2) / 13.8 เช่นเพาเวอร์แอมป์กำลังขับ 300 วัตต์ 2 แชนแนล จะมีอัตราการกอนกระแสขนาด (600 X 2) / 13.8 = 87 แอมป์ แต่ในสัญญาณที่เป็นเสียงดนตรีนั้นจะกินกระแสจริงเพียงแค่ 1/3 ของกำลังทั้งหมดเท่านั้น ตังนั้นเราจะได้การกินกระแสจริงในการฟังเพลงเพียง 87 / 3 = 29 แอมป์เท่านั้น ดังนั้นเพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขับ 300 วัตต์ X 2 แชนแนล จึงเล่นได้กับรถที่มีแบตเตอรี่ขนาด 75 แอมป์ได้ (40% ของ 75 คือ 30 แอมป์) หรือจะเปรียบเทียบแบบคร่าวๆกับตารางข้างล่างนี้ก็ได้
จะลงกราวด์ของเพาเวอร์แอมป์ตรงไหนดี
การ ลงกราวด์ของระบบเสียงในรถยนต์นั้นจะต้องใช้สายกราวด์ที่มีขนาดเท่ากับ หรือใหญ่กว่าสายไฟแรงดัน และต้องเดินตรงไปยังตัวถังของรถยนต์โดยมีการยึดไว้อย่างแน่นหนา โดยต้องมั่นใจได้ว่าการลงกราวด์ต้องเป็นเนื้อเดเดียวกันกับตัวรถ หรือบริเวณที่ลงกราวด์จะต้องขูดสีที่เคลือบตัวรถออกให้เห็นเนื้อเหล็กอย่าง แท้จริง
ในกรณีที่มีการลงกราวด์ของอุปกรณ์หลายๆชนิด ควรมีการลงกราวด์ให้แยกจากกัน โดยมีระยะห่างกันประมาณ 0.5 นิ้ว หรือถ้ามีการลงกราวด์ที่จุดเดียวกันทั้งหมด ควรระวังเรื่องที่ว่าอุปกรณ์ที่กินกระแสมากๆ จะแย่งไฟกราวด์ไปทั้งหมด อาจทำให้เกิดลักษณะของกราวด์ลูป (Ground Loop) ขึ้นได้ จะต้องติดตั้งกราวด์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสมากสุดไว้ตำแหน่งล่างสุด และให้กราวด์ของอุปกรณ์ที่กินกระแสน้อยสุดไว้ข้างบนสุด
เพาเวอร์แอมป์แบบ High Current
เพาเวอร์แอมป์แบบ High Current หรือเพาเวอร์แอมป์กระแสสูงนั้น คือเพาเวอร์แอมป์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถจ่ายกระแสให้กับลำโพงที่มี อิมพิแดนซ์ต่ำๆได้โดยไม่เกิดอาการเกินกำลัง โดยในเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่ๆในทุกวันนี้ ส่วนมากจะถูกออกแบบมาให้จ่ายกระแสได้กับอิมพิแดนซ์ที่ต่ำกว่าปกติได้เพียง หนึ่งเท่าตัวแค่นั้น เช่นปกติใช้กับลำโพงจะมีอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม แต่เพาเวอร์แอมป์ยังคงจ่ายกระแสให้กับลำโพงที่มีอิมพิแดนซ์ 2 โอห์มได้ และให้กำลังขับเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว การพิจารณาถึงเพาเวอร์แอมป์แบบ High Current จะดูที่ความสามารถในการขับโหลดที่ต่ำกว่า 4 โอห์มเป็นหลัก กล่าวคือถ้าเพาเวอร์แอมป์ตัวนั้นสามารถขับโหลดที่ต่ำกว่า 1 โอห์มได้ แสดงว่าเพาเวอร์แอมป์ตัวนั้นคือ High Current ของจริง…
เพาเวอร์แอมป์สำหรับขับซับวูฟเฟอร์ ต้องขนาดไหนถึงจะพอ
เรื่องทีว่านี้มันคงต้องอยู่ที่ความต้องการความหนักหน่วงของเสียงเบสสักขนาดไหนเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการฟังโดยทั่วไปแล้ว ในลำโพงขนาด 6.5 หรือ 8 นิ้ว กำลังขับที่ใช้ประมาณ 50 วัตต์ RMS ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการเสียงเบสที่ดังกระหึ่มจากลำโพง 10 หรือ 12 นิ้ว กำลังขับเบื้องต้นต้องไม่น้อยกว่า 150 – 200 วัตต์ RMS ต้อง เข้าใจอย่างหนึ่งว่าเสียงเบสยิ่งต่ำยิ่งต้องการกำลังขับมาก หรือยิ่งลำโพงซับวูฟเฟอร์มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากเท่าไร นั่นหมายความว่ามันยิ่งต้องการกำลังขับที่มหาศาลตามไปด้วย ซึ่งโดยทั่วไปนั้นเพื่อให้ได้เสียงเบสที่มีคุณภาพ จะต้องเรียกพลังจากลำโพงซับวูฟเฟอร์ให้ได้อย่างน้อยต้อง 70% ของกำลังขับรวม RMS ในระบบเสียง ยิ่งใกล้ 100% เท่าไร ก็จะได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นเท่านั้น
อยากเพิ่มเพาเวอร์แอมป์ให้กับวิทยุที่แถมมากับรถต้องทำอย่างไร
การ ที่เราจะเพิ่มกำลังขับให้กับระบบนั้น มันก็หมายถึงการเพิ่มรายละเอียดของเสียงด้วย ดังนั้นการเพิ่มเพาเวอร์แอมป์ให้กับวิทยุที่แถมมากับรถจึงเป็นอีกทางเลือก หนึ่งที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ แต่ก็อีกนั่นละมีมากเหมือนกันกับวิทยุที่แถมมากับรถมักจะไม่มีปรีเอาท์แบบ RCA มา ให้ ดังนั้นในการเลือกเพาเวอร์แอมป์สิ่งแรกที่ต้องดูก็คือ ต้องเลือกเพาเวอร์แอมป์แบบที่รับสัญญาณแบบไฮ-เพาเวอร์ได้ด้วย หรือในกรณีที่เพาเวอร์แอมป์ไม่สามารถรับสัญญาณแบบไฮ-เพาเวอร์ได้ก็ต้อง หากล่องแปลงสัญญาณจากไฮ-เพาเวอร์ให้เป็น RCA เอาท์พุดเสียงก่อน
การปรับเกนขยายในเพาเวอร์แอมป์
การปรับตั้งเกนการขยาย หรือเป็นการปรับตั้งความไวอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ และถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของการติดตั้งเพาเวอร์แอมป์ด้วย การตั้งเกนขยายอย่างเหมาะสมจะช่วยลดปัญหาในเรื่องของความเพี้ยน และเสียงรบกวนได้ พร้อมทั้งยังช่วยให้ระบบได้ไดนามิคเรนจ์ที่กว้างขึ้นด้วย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้…
- ปรับปุ่มเกนการขยายของเพาเวอร์แอมป์ลงให้หมดก่อน โดยตั้งไว้ที่ความไวต่ำสุด หรือโวลต์ที่มากสุด
- เปิด CD หรือเพลงจากเฮดยูนิตด้วยสัญญาณที่ดีที่จุด จากนั้นก็หมุนโวลลุ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนได้ยินเสียงดังออกมาจนถึงระดับที่เสียงพร่าเพี้ยน
- จาก นั้นก็ค่อยๆลดโวลลุ่มของเฮดยูนิตลงจนได้ระดับสัญญาณที่ดีที่สุด โดยปราศจากความเพี้ยน และนี่ละคือจุดกำเนิดสัญญาณที่มีคุณภาพดีที่สุด และเป็นจุดที่มีอัตราส่วนต่อเสียงรบกวนที่มากที่สุด สำหรับจะป้อนให้เพาเวอร์แอมป์
- ให้ ทำการหมุนปุ่มเกนขยายเพิ่มขึ้นเรื่องๆจนได้ระดับเสียงดังที่น่าพอใจ หรือจนถึงระดับที่เกิดความเพี้ยนขึ้นอีกครั้ง จากนั้นก็ให้ลดปุ่มเกนขยายลงจนถึงจุดที่ความเพี้ยนหายไปก็เป็นอันจบกระบวน การ
อนึ่งการปรับตั้งเกนขยายที่เหมาะสมให้กับเพาเวอร์แอมป์นั้น จะทำให้เราได้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุดของเพาเวอร์แอมป์นั่นเอง…
d.getElementsByTagName(‘head’)[0].appendChild(s);