
เกี่ยวกับ SPEC ของเพาเวอร์แอมป์…

- Bridgeable หมายถึงความสามารถในการยอมให้คู่ของช่องสัญญาณของ Power Output ถูกผสม หรือรวมเข้าเป็น หนึ่งช่องสัญญาณ เพื่อการขับลำโพงที่ใหญ่กว่า ซึ่งความสามารถนี้แม้ว่ามันจะใช้กับลำโพงชนิดใดก็ได้ แต่โดยมากมักจะเป็นการใช้สำหรับขับลำโพงซับวูฟเฟอร์เสียส่วนใหญ่
- Channels ควรเลือกเพาเวอร์แอมป์ที่มีแชนแนล หรือช่องสัญญาณที่มากกว่าความต้องการสักหน่อย โดยเฉพาะในแง่มุมของ Option เพื่อการเพิ่มเติมระบบในอนาคต
- Class ก็วกกลับมาที่เรื่องคลาสของเพาเวอร์แอมป์อีกนั่นละครับ ควรเลือกใช้ให้ถูกกับการใช้งานด้วย คลาส A นั่นคงไม่ต้องพูดถึง เพราะหาแบบพันธ์แท้ได้ยากมาก ถัดมาก็เป็นในคลาส AB ที่เหมาะกับการใช้งานแบบอเนกประสงค์ คือสามารถใช้ขับ กลาง/แหลม หน้า/หลัง หรือจะบริดจ์ให้ขับลำโพงวูฟเฟอร์ก็ยังพอไหว ส่วนในคลาส D นั้น เหมาะกับหารใช้ขับลำโพงซับวูฟเฟอร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น…
- Connectors หมายถึงจุดเชื่อมต่อสายสัญญาณ สายลำโพง และสายไฟ นั่นละครับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจุดเชื่อมต่อสายสัญญาณนั้นควรจะเป็นในแบบ RCA แจ็ค เลือกในแบบที่สามารถต่อกับแจ็คตัวผู้ให้ได้แบบกระชับ ไม่โยกคลอน พูดง่ายคือให้มันแน่นหนาหน่อย ส่วนจุดเชื่อมต่อสายลำโพง และสายไฟนั้น มักจะเป็นแบบสกรูขับยึด หรือสกรูบล็อก ควรดูในแบบที่มีการขันยึดที่แน่นหนาหน่อย จุดเชื่อมต่อสายไฟควรจะมีขนาดที่ใหญ่เพื่อรองรับสายไฟที่มีขนาดใหญ่ สำหรับการจ่ายไฟฟ้าให้กับ เพาเวอร์แอมป์ได้อย่างเต็มที่ กรณีที่เป็นแบบหกเหลี่ยมควรตรวจดูว่าในกล่องเค้าให้ตัวหกเหลี่ยมมาด้วยหรือ เปล่า จะได้ไม่ต้องหากันให้วุ่นวาย
- Crossover / Filter เป็น ความสามารถอีกอย่างที่มีประโยชน์มาก เพราะมันจะบ่งบอกถึงความสามารถของการปรับแต่งความถี่เพื่อการใช้งานสำหรับ อรรถประโยชน์ที่หลากหลายของเพาเวอร์แอมป์ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่า ไม่มีเพาเวอร์แอมป์ตัวไหนที่สามารถปรับความถี่ได้ตามความเป็นจริง ซึ่งควรเลือกในแบบที่สามารถทำการปรับได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- Distortion หรือค่า THD หมายถึงการบิดเบือนของเสียง โดยเราจะรู้จักมันในรูปแบบของค่า THD ซึ่งถ้าเป็นเพาเวอร์แอมป์ในระดับ ไฮ-ไฟ แล้วมักจะมีค่าเฉลี่ย จะอยู่ที่ 0.001% – 0.1% และโดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นแบบแบบคลาส D ควรจะมาค่าประมาณ 0.1% และใน เพาเวอร์แอมป์แบบคลาส AB ควรจะอยู่ราวๆ 0.05% ครับ
- Power Output อัน หมายถึงกำลังขับนั่นละครับ ก็อีกนั่นละครับ ไม่รู้ทำไมว่าถึงไม่มีการบอกถึงกำลังขับที่แท้จริงของเพาเวอร์แอมป์ กันในแบบจริงจัง แต่เราก็คำนวณได้แบบ คร่าวๆครับ ถึงกำลังขับของเพาเวอร์แอมป์ ตัวนั้นๆได้จากขนาดของฟิวส์
- Power Supply ในปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือการใช้ Chip ในการควบคุม และการใช้ MOSFET ในการควบคุม แต่ดูเหมือนว่าภาคจ่ายไฟที่มีการออกแบบให้ใช้ MOSFET ในการควบคุมนั้นดูเหมือนจะได้ผลมากกว่า และมีความเสถียรในการทำงานมากกว่าการใช้ Chip ในการควบคุม…
- Input Sensitivity เป็นค่าตัวเลขค่าหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานเป็นอย่างมาก มันเป็นค่าที่สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพในการรับสัญญาณภาคอินพุทของเพาเวอร์แอมป์ตัวนั้นๆ และสิ่งนี้ยังอาจส่งผลต่อค่า Gain และกำลังขับในระดับ Full Power Output อีกด้วย ในเพาเวอร์แอมป์ที่เข้าขั้นว่าอยู่ในระดับที่ดีจึงควรจะมีค่าที่ว่านี้อยู่ที่ประมาณ 0.5 V – 1.5 V เป็น อย่างน้อยครับ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ค่าตัวเลขที่ว่านี้มันอาจจะสูงกว่านี้ก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับระดับชนชั้น และผู้ผลิตเพาเวอร์แอมป์ด้วยครับ
- Frequency Response ค่า ที่ว่านี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย เพราะว่ามันสามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพในการรับคลื่นความถี่เสียงของเพา เวอร์แอมป์ โดยทั่วไปแล้วในเพาเวอร์แอมป์ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องสามารถขยายคลื่นความถี่ เสียงให้ได้เท่ากันหมด (Full Range Mode) และโดยปกติแล้วเพาเวอร์แอมป์ที่เราเรียกกันว่าเข้าขั้นดีนั้น จะต้องตอบสนองต่อความถี่เสียงขนาด 20 Hz – 20 kHz เป็น อย่างน้อย แต่ถ้าเป็นในกรณีที่สัญญาณเสียงมีความแรง และสมบูรณ์พอ หรือถ้าต้องการเสียงที่เป็นระดับ ไฮ-ไฟ อย่างแท้จริงแล้ว เพาเวอร์แอมป์ก็ควรจะต้องตอบสนองความถี่เสียงให้ได้ในระดับ 5 Hz – 50 kHz เลยทีเดียว