รู้จักกับ…เพาเวอร์แอมป์สำหรับรถยนต์
- แบบมัลติแชนแนล
เพาเวอร์แอมป์ สำหรับรถยนต์ในแบบมัลติแชนแนลนั้น มีให้เลือกใช้กันตั้งแต่ขนาด 1 แชนแนล เรื่อยไปจนถึง 8 แชนแนล กันเลยที่เดียว แต่โดยทั่วไปแล้วในท้องตลาด หรือในวงการเครื่องเสียงรถยนต์บ้านเรานั้นจะมีที่เรานิยมใช้กันหลักๆนั้น ก็มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือแบบ 2 แชนแนล และแบบ 4 แชนแนล ซึ่งก็มีให้เลือกกันได้อย่างหลากหลายขนาด โดยทั่วไปเพาเวอร์แอมป์ในแบบที่ว่านี้มักจะมีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้ อย่างหลากหลาย หรือจะจัดอยู่ในจำพวกเพาเวอร์แอมป์แบบอเนกประสงค์ก็คงไม่ผิดนัก
- แบบโมโนบล็อก
- เพาเวอร์แอมป์ คลาส A
จุดเด่น
- คุณภาพเสียงเข้าขั้น Hi-End
- ประสิทธิภาพการทำงายเยี่ยม
- ภาคครอสโอเวอร์ปรับเล่นได้หลากหลาย… Full / High-Pass / Low-Pass
- บริโภคพลังงานเต็มที่ตลอดเวลา
- ความร้อนสูง
- เพาเวอร์แอมป์ แบบคลาส AB
ที่ มาที่ไปของ เพาเวอร์แอมป์ ในคลาสนี้ก็คือ มันเกิดจากการผสมผสานเอาข้อดีของ เพาเวอร์แอมป์ ใน คลาส A และคลาส B แล้วก็ทำให้ เพาเวอร์แอมป์ คลาส AB ได้ถือกำเนิดขึ้นมา กล่าวคือ เป็นออกแบบที่ยอมให้ เอาท์พุท ทรานซิสเตอร์ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา แต่เป็นในระดับที่ต่ำมากๆครับ จึงทำให้ได้ประสิทธิผลมากกว่าคลาส A ด้วยความเพี้ยนที่ต่ำ ทำให้มันมีความน่าเชื่อถือที่สูงมากนั่นเอง เพาเวอร์แอมป์ ในคลาส AB นี้ มีการให้คุณภาพของเสียงได้รองลงมาจากคลาส A และเป็นที่นิยมมากในตลาดเครื่องเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เรื่องของความร้อนก็ไม่มีปัญหา เพราะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคลาส A ที่สำคัญมันสามารถให้กำลังขับได้สูงกว่า และมีการบริโภคพลังงานที่น้องกว่าในคลาส A มาก จึงทำให้ในระยะหลังนี้ตลาดเครื่องเสียงรถยนต์จึงมักจะผลิต เพาเวอร์แอมป์ ออกมาเป็นในคลาส AB ซะเป็นส่วนใหญ่…
จุดเด่น
- บริโภคพลังงานเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น…เมื่อไม่มีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุท
- คุณภาพเสียงยอมรับได้…แม้จะไม่เทียบเท่าคลาส A
- ภาคครอสโอเวอร์ปรับเล่นได้หลากหลาย… Full / High-Pass / Low-Pass
จุดด้อย
- กำลังขับมักไม่สูงมากนัก…
- มีความร้อนสะสมพอสมควร…
- เพาเวอร์แอมป์ คลาส D
ก็ อย่างที่บอกนั่นละครับ เป็น เพาเวอร์แอมป์ ที่มักจะสงวนไว้สำหรับใช้กับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ เท่านั้น เนื่องจากว่ามันจะมีการเปิด/ปิดอย่างรวดเร็วของ ทรานซิสเตอร์ จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นที่ย่านความถี่สูงเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้น โดยปกติจึงมักจะใช้งานในการกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน นั่นเอง และก็ด้วยความสามารถที่เอื้อมถึงกำลังขับได้ถึง 80% แถมยังมีความร้อนสะสมที่ค่อนข้างน้อย แต่มันก็มีข้อเสียครับ คือ มันไม่มีความแม่นยำเลยในด้านของความมี่สูง ดังนั้น เพาเวอร์แอมป์ ในคลาส D นี้ จึงถูกสรุปโดยธรรมชาติว่า มันเหมาะแก่การใช้งานสำหรับเสียงในย่านความถี่ต่ำ หรือการใช้งานกับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ นั่นเอง…
จุดเด่น
- แทบจะไม่มีการบริโภคพลังงานเลย…เมื่อไม่มีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุท
- สามารถสร้างกำลังขับได้สูง…
จุดด้อย
- ทำงานได้ดีกับเฉพาะความถี่ต่ำเท่านั้น
- เรื่องคุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ทำงานกับความถี่เสียงย่าน Low-Pass เพียงอย่างเดียว
if (document.currentScript) {