อะไรคือการบริดจ์ในเพาเวอร์แอมป์…
ความสามารถในการบริดจ์ ( Bridge ) ของเพาเวอร์แอมป์นั้น…มันมีเพื่ออะไร…และมันมีผลต่อการทำงานในระบบเสียงหรือไม่…ลองมาหาคำตอบกัน…
การบริดจ์ (Bridging)…จะเป็นการอ้างถึง…การนำเอา 2 แชนแนลในเพาเวอร์แอมป์ทั่วไปมาทำงานร่วมกัน…เพื่อปรับเปลี่ยนให้กลายเป็น เพาเวอร์แอมป์โมโนแชนแนลเดียว… ในการใช้งานปกติคือ…ต่อสายลำโพงเส้นหนึ่งจากแชนแนลที่เรียกกันว่าสายเป็น กลาง (Neutral)…ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณ…ซึ่งมักระบุเอาไว้ในคู่มือเครื่อง…กับอีกสายลำโพงจากอีกแชนแนลที่เรียกกันว่าสายไฟ (Hot)…ที่เป็นทางเดินของสัญญาณลำโพง AC…โดยลำโพงจะมองเห็นสายลำโพงทั้งสองเส้นนี้เป็นสัญญาณเดียวกัน…และเกิดสภาพแรงดันไฟขึ้นที่บริเวณลำโพง…
อย่างไรก็ตาม…สัญญาณแช นแนลใดแชนแนลหนึ่งของเพาเวอร์แอมป์…ต้องกลับสัญญาณให้เป็นตรงกันข้าม… เพื่อให้ลำโพงมองไม่เห็นความต่างศักย์ของแรงดันไฟ… ทำให้สายลำโพงทั้งสองเส้นเป็นสื่อนำสัญญาณเดียวกัน… การกลับสัญญาณในแชนแนลใดแชนแนลหนึ่งนี้… ตัวลำโพงจะมองเห็นสัญญาณทั้งหมดมีขนาดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า… ดังนั้นถ้าเพาเวอร์แอมป์ตัวใดไม่มีสวิทช์…หรือระบบเพื่อปรับให้สัญญาณเป็น ตรงกันข้าม… เพาเวอร์แอมป์ตัวนั้นจะไม่สามารถบริดจ์กำลังได้…นอกเสียจากเพิ่มวงจรกลับ สัญญาณภายนอกตัวเครื่อง…
ตัวอย่าง PCB สำหรับการบริดจ์ภายนอกตัวเครื่องของ Power Amp. Class AB
สำหรับ เรื่องของการคาดหวังกำลังจากเพาเวอร์แอมป์ที่ทำการบริดจ์นั้น… จะมองที่ความสามารถทางโหลดภาระ…หรืออิมพีแดนซ์ทางเอาท์พุทเป็นสำคัญ… เช่นเพาเวอร์แอมป์ 50 W/CH @ 4 Ohms <0.05% THD… เมื่อนำมาบริดจ์เป็นเพาเวอร์แอมป์แชนแนลเดียว…จะได้กำลังขับเป็น 100 W/CH @ 8 Ohms <0.10% THD… ดังนั้นเพาเวอร์แอมป์ที่รองรับโหลดภาระได้ 2 Ohms ในระบบสเตอริโอ…จะสามารถบริดจ์เพื่อขับโหลดภาระในระบบโมโนได้ที่ 4 Ohms… หรือถ้ารับโหลดภาระได้ 1 Ohm ในระบบสเตอริโอ… ก็จะสามารถบริดจ์เพื่อขับโหลดภาระในระบบโมโนได้ที่ 2 Ohms…นั่นเอง…