ข้อมูลจำเพาะของลำโพงมีความสำคัญอย่างไร…?
Input sensitivity ( ความไวอินพุท ) : คือระดับความดังSPLที่ลำโพงตัวนั้นๆ สามารถเปล่งความดัง
ออกมาได้ในกำลัง 1 วัตต์…และวัดในระยะห่าง 1 เมตร…ในย่านความถี่ที่ระบุเพื่อการวัด… (โดยปกติใช้ที่ 1 kHz)… โดยความไวปกติสำหรับลำโพงรถยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 90 dB/W/m… ซึ่งในลำโพงซับวูฟเฟอร์บางตัว…และลำโพงฮอร์นบางรุ่นอาจอ้างถึงเอาไว้มากกว่า 100 dB/W/m… อย่างไรก็ตามต้องพึงระวังว่าผู้ผลิตอาจไม่ได้ใช้กำลังวัตต์ที่ 1 วัตต์ในการทดสอบอย่างแท้จริง…โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอิมพีแดนซ์ของซับ วูฟเฟอร์…ที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำมาก…ดังนั้นการใช้ค่าแรงดันไฟคงที่ในการ ทดสอบปกติจะหันมาใช้ 2.82 V แทน…จึงจะให้อัตราของความไวที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด…
Frequency response ( การตอบสนองความถี่ ) : ในลำโพงนั้นจะอ้างถึงขอบเขตของความถี่ที่ลำโพงสามารถเปล่งออกมาได้ภายในย่านกำลังที่กำหนด…โดยปกติจะอ้างที่ +/-3 dB Impedance ( ความต้านทาน) : คือการต้านทานของตัวขับที่ปกติ 4 โอห์ม (สำหรับระบบเสียงรถยนต์)… แม้ว่าตัวซับวูฟเฟอร์บางตัวอาจจะมีค่าจริงเป็น 6 โอห์มก็ตาม… และในผู้ผลิตลำโพงรถยนต์บางรายอาจใช้การต้านทานที่ 3 โอห์ม…หรือลำโพงรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นบางรุ่นอาจใช้การต้านทานที่ 6 โอห์ม
Nominal Power Handling ( การรองรับกำลังขับปกติ ) : คือค่าการรองรับกำลังขับแบบต่อเนื่องของลำโพง… เป็นคุณลักษณ์ที่บ่งบอกให้ทราบว่า…เราสามารถใช้กำลังขับได้มากเพียงใด… เพื่อใช้ขับดันลำโพงนั้นๆได้ในระยะเวลานานๆโดยไม่เกิดความเสียหายต่อการขยับ ตัวของกรวยลำโพง…ต่อความร้อนวอยซ์คอยล์ที่เกินขีดจำกัด…หรือความเสียหายอื่นๆ
Peak Power Handling ( การรองรับกำลังขับสูงสุด ) : คือค่าการรองรับกำลังขับสูงสุดของตัวลำโพง… เป็นคุณลักษณ์ที่บ่งบอกให้ทราบว่า…เราสามารถใช้กำลังขับในการขับดันเสียง เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆได้มากขนาดไหน…จึงจะไม่ทำให้ลำโพงเกิดความเสีย หาย…นั่นก็หมายความว่า…หากมีการขับดันเสียงให้แก่ลำโพงเกินกว่าค่าที่ กำหนด…จะหมายถึงการพังของลำโพงนั่นเอง…
}